อเมริกันราเม็ง
อิวาน ออร์กิน เปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่น...
นี่คงไม่ใช่เรื่องประหลาดอันใด หาก อิวาน ออร์กิน ไม่ใช่ชาวอเมริกัน
ฝรั่งเปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่นฟังดูเป็นเรื่องเหลวไหลพอๆ กับชาวเอสกิโมหรือชาวบ้านในป่าอเมซอนมาเปิดร้านแจ่วอีสานหรือต้มยำกุ้งกลางเมืองกรุงเทพฯ นี่คือการเหยียบถิ่นเสือดีดีนี่เอง!
ทว่านี่เป็นเรื่องจริง! ชาวคนอเมริกันผู้นี้ไปญี่ปุ่นเปิดร้านราเม็งที่โตเกียว ชื่อร้าน อิวาน ราเม็ง
อิวานเป็นชาวนิวยอร์ก เคยทำงานเป็นพ่อครัวในภัตตาคารที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในแมนฮัตตัน ครั้งหนึ่งเขาไปเยือนญี่ปุ่นและหลงเสน่ห์ประเทศนั้น รวมทั้งสตรีผู้หนึ่ง
ราเม็งเป็นธุรกิจที่ทำกันกว้างขวาง เป็นอาหาร 'จำเป็น' ของชาวญี่ปุ่น เปรียบกับข้าวราดแกงของคนไทย ทว่าฝรั่งริเปิดร้านราเม็งเป็นเรื่องที่ทุกคนมองว่าบ้าอย่างยิ่ง เนื่องจากเฉพาะในโตเกียวมีร้านราเม็งนับพันร้าน แต่ละร้านมีจุดแข็งของตนเอง หลายคนบอกเขาว่า "จะไหวหรือ?", "บ้าน่า!", "เอ็งคิดอะไรของเอ็งวะ?"
เป็นความจริงแน่นอนว่าเขาเป็นบ้า! หากแต่เป็นความบ้าในการคิดสูตรราเม็งที่อร่อยที่สุด เขาทำงานอย่างจริงจัง ทำเส้นหมี่เองจากแป้งสามชนิดผสมกัน ไม่เหนียวเกินไป ไม่นุ่มเกินไป ซุปเป็นน้ำเคี่ยวไก่ผสมน้ำปลาวาฟู เนื้อชาชูติดมัน หน่อไม้รสดี ไข่ต้มกึ่งสุกพอดี
ส่วนเส้นราเม็งนั้น เขาลวกเส้นราเม็งนาน 46 วินาที ไม่ใช่ 45 ไม่ใช่ 47 แต่ต้องเป็น 46 วินาทีพอดี เขาทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าจนสรุปได้ว่า 46 วินาทีทำให้เส้นราเม็งของเขานุ่มพอดี เคี้ยวอร่อย
ร้าน อิวาน ราเม็ง เป็นที่ยอมรับของคนญี่ปุ่นในเวลาอันสั้น ยืนหยัดด้วยฝีมือล้วนๆ
ไม่มีงานดีใดๆ ในโลกที่ทำได้ง่ายๆ ยิ่งดียิ่งต้องผ่านการเคี่ยวกรำมาก
ผลงานบ่งบอกนิสัยการทำงาน หากลวกให้เสร็จพอเป็นพิธี ก็ได้งานไร้คุณภาพ ไม่ดิบเกินไปก็สุกเกินไป
งานที่ดีมากบอกได้ว่าคนสร้างงานเป็นมืออาชีพซึ่งทำงานโดยยึดปรัชญา 'ประณีตสมบูรณ์'
สิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายในโลกก็เกิดมาจากการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า จนสามารถกำหนดจุดที่ดีที่สุด จุดที่รู้ว่า 'วินาทีที่ 46' ของงานชิ้นนั้นอยู่ตรงไหน ความสำเร็จของนักประดิษฐ์เหล่านี้ ธอมัส เอดิสัน, อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์, ชาร์ลส์ กูดเยียร์ ฯลฯ ก็ล้วนมาจากการทดลอง
'46 วินาที' ของแต่ละงานไม่เท่ากัน แต่วิธีการค้นพบ '46 วินาที' นั้นเหมือนกัน คือการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ทำซ้ำๆ กันจนพบคำตอบหรือชำนาญหรือความสมบูรณ์แบบ
บางคนต้องใช้เวลานาน บางคนก็เร็วหน่อย จนกว่าจะพบ '46 วินาที' ของตัวเอง ทว่าน่าเสียดายที่คนจำนวนมากมักล้มเลิกก่อนจะถึง 'วินาทีที่ 46'
และนี่คือความแตกต่างเดียวระหว่างความล้มเหลวกับความสำเร็จ
นี่คงไม่ใช่เรื่องประหลาดอันใด หาก อิวาน ออร์กิน ไม่ใช่ชาวอเมริกัน
ฝรั่งเปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่นฟังดูเป็นเรื่องเหลวไหลพอๆ กับชาวเอสกิโมหรือชาวบ้านในป่าอเมซอนมาเปิดร้านแจ่วอีสานหรือต้มยำกุ้งกลางเมืองกรุงเทพฯ นี่คือการเหยียบถิ่นเสือดีดีนี่เอง!
ทว่านี่เป็นเรื่องจริง! ชาวคนอเมริกันผู้นี้ไปญี่ปุ่นเปิดร้านราเม็งที่โตเกียว ชื่อร้าน อิวาน ราเม็ง
อิวานเป็นชาวนิวยอร์ก เคยทำงานเป็นพ่อครัวในภัตตาคารที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในแมนฮัตตัน ครั้งหนึ่งเขาไปเยือนญี่ปุ่นและหลงเสน่ห์ประเทศนั้น รวมทั้งสตรีผู้หนึ่ง
ราเม็งเป็นธุรกิจที่ทำกันกว้างขวาง เป็นอาหาร 'จำเป็น' ของชาวญี่ปุ่น เปรียบกับข้าวราดแกงของคนไทย ทว่าฝรั่งริเปิดร้านราเม็งเป็นเรื่องที่ทุกคนมองว่าบ้าอย่างยิ่ง เนื่องจากเฉพาะในโตเกียวมีร้านราเม็งนับพันร้าน แต่ละร้านมีจุดแข็งของตนเอง หลายคนบอกเขาว่า "จะไหวหรือ?", "บ้าน่า!", "เอ็งคิดอะไรของเอ็งวะ?"
เป็นความจริงแน่นอนว่าเขาเป็นบ้า! หากแต่เป็นความบ้าในการคิดสูตรราเม็งที่อร่อยที่สุด เขาทำงานอย่างจริงจัง ทำเส้นหมี่เองจากแป้งสามชนิดผสมกัน ไม่เหนียวเกินไป ไม่นุ่มเกินไป ซุปเป็นน้ำเคี่ยวไก่ผสมน้ำปลาวาฟู เนื้อชาชูติดมัน หน่อไม้รสดี ไข่ต้มกึ่งสุกพอดี
ส่วนเส้นราเม็งนั้น เขาลวกเส้นราเม็งนาน 46 วินาที ไม่ใช่ 45 ไม่ใช่ 47 แต่ต้องเป็น 46 วินาทีพอดี เขาทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าจนสรุปได้ว่า 46 วินาทีทำให้เส้นราเม็งของเขานุ่มพอดี เคี้ยวอร่อย
ร้าน อิวาน ราเม็ง เป็นที่ยอมรับของคนญี่ปุ่นในเวลาอันสั้น ยืนหยัดด้วยฝีมือล้วนๆ
ไม่มีงานดีใดๆ ในโลกที่ทำได้ง่ายๆ ยิ่งดียิ่งต้องผ่านการเคี่ยวกรำมาก
ผลงานบ่งบอกนิสัยการทำงาน หากลวกให้เสร็จพอเป็นพิธี ก็ได้งานไร้คุณภาพ ไม่ดิบเกินไปก็สุกเกินไป
งานที่ดีมากบอกได้ว่าคนสร้างงานเป็นมืออาชีพซึ่งทำงานโดยยึดปรัชญา 'ประณีตสมบูรณ์'
สิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายในโลกก็เกิดมาจากการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า จนสามารถกำหนดจุดที่ดีที่สุด จุดที่รู้ว่า 'วินาทีที่ 46' ของงานชิ้นนั้นอยู่ตรงไหน ความสำเร็จของนักประดิษฐ์เหล่านี้ ธอมัส เอดิสัน, อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์, ชาร์ลส์ กูดเยียร์ ฯลฯ ก็ล้วนมาจากการทดลอง
'46 วินาที' ของแต่ละงานไม่เท่ากัน แต่วิธีการค้นพบ '46 วินาที' นั้นเหมือนกัน คือการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ทำซ้ำๆ กันจนพบคำตอบหรือชำนาญหรือความสมบูรณ์แบบ
บางคนต้องใช้เวลานาน บางคนก็เร็วหน่อย จนกว่าจะพบ '46 วินาที' ของตัวเอง ทว่าน่าเสียดายที่คนจำนวนมากมักล้มเลิกก่อนจะถึง 'วินาทีที่ 46'
และนี่คือความแตกต่างเดียวระหว่างความล้มเหลวกับความสำเร็จ
credit : winbbokclub.com