บทความดีๆ ที่ “สตีฟ จอบส์” บรรยายในพิธีรับปริญญา (ตอนที่ 3)

      การบรรยายของ สตีฟ จอบส์ ผู้สร้าง Macintosh ที่แสดงในวันรับปริญญาของ Stanford University เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2548 ไม่เพียงสร้างความประทับใจให้แก่บัณฑิตจบใหม่ในวันนั้น แต่ยังรวมไปถึงโลกคอมพิวเตอร์ที่ Silicon Valley และยังคงได้รับการชื่นชมและกล่าวขวัญไปทั่วโลกจนถึงวันนี้


     สุนทรพจน์วันนั้นจอบส์เพียงแต่เล่าถึงบทเรียนในชีวิตของเขา 3 บท แต่เป็น 3 บทที่ทำให้เขา (ซึ่งแม้แต่แม่ที่แท้จริงก็ไม่ต้องการ) กลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

บทเรียนที่ 3 ความตาย

 สตีฟ จอบส์ Steve jobs 
       
ตอนผมอายุ 17 ปี ผมอ่านคำคมประโยคหนึ่งที่ว่าไว้ทำนองนี้ ถ้าคุณใช้ชีวิตในแต่ละวันเหมือนมันเป็นวันสุดท้ายของคุณแล้วล่ะก็วันหนึ่งคุณจะพบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง ผมรู้สึกประทับใจกับประโยคนี้มาก ตั้งแต่นั้นมาก  
กว่า 33 ปี ผมมองหน้าตัวเองในกระจกทุกวัน แล้วถามตัวเองวา ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของผม ผมจะอยากทำสิ่งที่ผมกำลังจะทำวันนี้หรือเปล่า แล้วเมื่อไหร่ที่คำตอบคือ ไม่ ติดกันหลายวัน ผมจะรู้ตัวว่าผมต้องเปลี่ยนอะไรบางอย่างแล้ว  
ความสำนึกว่าผมจะต้องตายในไม่ช้าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ผมรู้จัก ที่ผมใช้ในการตัดสินใจสำคัญๆ ของชีวิต เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง ความภูมิใจ ความกลัวการหน้าแตกและความผิด 
พลาดทั้งหลาย ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลย เมื่อเทียบกับความตาย เหลือเพียงสิ่งที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น มรณานุสติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผมรู้ ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงความคิดที่ว่า เรามีอะไรต้องเสีย เราทุกคนเปล่าเปลือยอยู่ 
แล้วครับ ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่ทำตามสิ่งที่ใจเราต้องการ 
     
ประมาณ 1 ปีก่อน หมอบอกว่าผมเป็นมะเร็งผมไปเข้าเครื่องสแกนเวลา 7 โมงครึ่งตอนเช้า ผลออกมาชัดเจนว่ามีเนื้อร้ายที่ตับอ่อนของผม ตอนนั้นผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตับอ่อนคืออะไร หมอบอกว่าเขาค่อนข้างแน่ใจว่าผม 
เป็นมะเร็งแบบที่รักษาไม่หาย และผมไม่น่าจะอยู่ได้นานเกิน 3-6 เดือน หมอบอกให้ผมกลับบ้านไปสะสางเรื่องต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ก็เป็นโค้ดของหมอที่แปลว่าให้ไปเตรียมตัวตายนั่นแหละครับ แปลว่าให้พยายามบอกลูกๆ ถึงสิ่งต่างๆที่คนปกติมีเวลา 10 ปีที่จะบอกให้บอกภายในไม่กี่เดือน แปลว่าให้เก็บความรู้สึกทุกอย่างให้เรียบร้อย ให้ครอบครัวไม่ยุ่งยากใจเมื่อถึงเวลา แปลว่าให้เอ่ยคำลา

สตีป จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง apple 
 ถ้าคุณใช้ชีวิตในแต่ละวันเหมือนมันเป็นวันสุดท้ายของคุณแล้วล่ะก็

วันหนึ่งคุณจะพบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง 
    ผมหมกหมุ่นอยู่กับคำวินิจฉัยนั้นทั้งวัน เย็นวันนั้นผมไปเข้ากระบวนการไบอ็อพซี คือหมอต้องหย่อนกล้องเอ็นโดสโคปลงไปในคอผมผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ เอาเข็มฉีดยาแทงเข้าตับอ่อนดูดเอาเซลล์มะเร็งบางเซลล์ ออกมา ตอนนั้นผมอยู่ใต้ฤทธิ์ยาชา ภรรยาผมซึ่งอยู่ในห้องด้วยเล่าให้ฟังว่าตอนที่ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเซลล์มะเร็ง หมอหลายคนถึงกับร้องไห้ เพราะปรากฎว่ามันเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิดหายากที่สามารถรักษาให้หายได้ 
  
ด้วยการผ่าตัด หลังจากนั้นผมก็เข้ารับการผ่าตัด ตอนนี้ผมสบายดีแล้วครับ
      นั่นเป็นเหตุการณ์ที่นำให้ผมใกล้ชิดกับความตายมากที่สุดในชีวิต ผมหวังว่ามันจะไม่มาใกล้กว่านี้แล้วในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า เพราะผมได้ประสบด้วยตัวเอง ผมเลยสามารถเล่าสิ่งต่อไปนี้ให้น้องๆ ฟังด้วยความมั่นใจกว่าตอนที่ความตายเป็นแค่นามธรรมสำหรับผม 
ไม่มีใครอยากตายหรอกครับ ขนาดคนที่อยากไปสวรรค์ก็ยังไม่อยากตายก่อนไปถึง ถึงกระนั้นเราทุกคนก็ต้องตายทั้งนั้น ไม่มีใครเคยรอดพ้นจากมัน แต่นั่นก็เป็นสัจธรรมที่ควรจะเป็น 

     เพราะความตายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ ธรรมชาติให้เรามา เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงกำจัดของเก่าเพื่อสละพื้นที่ให้กับของใหม่ ตอนนี้น้องๆ ทุกคนเป็นของใหม่ แต่ในอีกไม่นานนับจากนี้ น้องๆจะกลายเป็นของเก่าที่ธรรมชาติต้องกำจัด ขอโทษที่อาจฟังดูเว่อร์นะครับ แต่มันเป็นความจริง
     เวลาของน้องๆ มีจำกัด ดังนั้นอย่าทำให้มันเปล่าประโยชน์ด้วยการใช้ชีวิตของคนอื่น อย่าตกเป็นทาสของกฎเกณฑ์ นั่นคือการใช้ชีวิตตามความคิดของคนอื่น อย่าปล่อยให้เสียงของทัศนคติคนอื่นดังกลบเสียงของหัวใจของเราเอง และที่สำคัญที่สุดคือ จงมีความกล้าที่จะเดินตามสิ่งที่หัวใจและสัญชาตญาณเรียกร้อง เพราะสองสิ่งนี้รู้อยู่แล้วว่าน้องๆ อยากเป็นอะไรทุกอย่างที่เหลือเป็นเรื่องรองลงมาทั้งนั้น
The Whole Earth Catalog 
 หนังสือ The Whole Earth Catalog 
       ตอนผมเป็นเด็กมีหนังสือที่น่าอัศจรรย์มากเล่มหนึ่งชื่อ แคตตาล็อกของโลก (The Whole Earth Catalog) ซึ่งนับเป็นคัมภีร์ไบเบิลของคนรุ่นผม คนคิดแคตตาล็อกนี้ชื่อ สจ๊วต แบรนด์ เป็นคนเมืองเม็นโล ปาร์ค ไม่ไกลจากนี่เลยครับ เขาทำให้หนังสือนี้มีชีวิตขึ้นมาด้วยอารมณ์กวี เรากำลังพูดถึงช่วงทศวรรษ 1960 ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และโปรแกรมเวิร์ด แปลว่าแคตตาล็อคนี้ผลิตขึ้นจากเครื่องพิมพ์ดีดกรรไกรและกล้องโพลารอยด์ คล้ายๆกับกูเกิลในรูปกระดาษ 35 ปี ก่อนกูเกิลเกิด มันเป็นอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ และเต็มเปี่ยมด้วยเครื่องมือและไอเดียดีๆ มากมาย

     สจวตและทีมของเขาผลิตแคตตาล็อกออกมาได้ไม่กี่เล่ม ก่อนที่มันจะม้วนเสื่อไป เขาเข็นเล่มสุดท้ายออกมาประมาณกลางทศวรร 1970 ตอนนั้นผมมีอายุเท่าน้องๆ ตอนนี้ ปกหลังของเล่มนี้เป็นรูปถนนแถวชนบทยามเช้า แบบที่น้องๆ นักผจญภัยชอบไปโบกรถกันนั่นแหละครับ ใต้รูปเขียนว่า อย่าทิ้งความกระหาย อย่าคลายความเชื่อ Stay Hungry. Stay Foolish. แล้วผมก็ใช้ประโยคนี้เป็นคติประจำใจมาตลอด และในวันนี้วันที่น้องๆออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปเริ่มชีวิตใหม่

ผมขออวยพรให้น้องๆ ด้วยประโยคนี้ครับ "อย่าทิ้งความกระหาย อย่าคลายความซื่อ" ขอบคุณมากครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Cast Away จากภาพยนต์สู่เรื่องจริง : การต่อสู้ของมนุษย์เพื่อเอาชีวิตรอดกลางมหาสมุทร

ผมมีอะไรเล่าให้ฟัง กับเงิน 800 บาทกินทั้งเดือน...สำหรับคนที่ท้อแท้หาทางออกกับชีวิตไม่ได้

ฉันชื่อ "โอกาส"