วิชาของชีวิต
โลกนี้เป็นดั่งอาณาจักรแห่งวิชาความรู้ ที่รอให้มนุษย์มาศึกษาค้นคว้า
ขึ้นชื่อว่า”การศึกษา” ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต
เพียงแต่...ใครจะรู้บ้างว่า สุดยอดของวิชาความรู้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ “วิชาของชีวิต”
...หากใครยังไม่ได้ศึกษา ต้องถือว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมานั้น “ว่างเปล่า”...น่าเสียดายเป็นที่สุด
ขึ้นชื่อว่า”การศึกษา” ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต
เพียงแต่...ใครจะรู้บ้างว่า สุดยอดของวิชาความรู้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ “วิชาของชีวิต”
...หากใครยังไม่ได้ศึกษา ต้องถือว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมานั้น “ว่างเปล่า”...น่าเสียดายเป็นที่สุด
มีศาสตราจารย์คนหนึ่ง เป็นผู้มีความรู้มาก รอบรู้ทุกอย่าง วันหนึ่งเขาต้องเดินทางโดยเรือเพื่อข้ามมหาสมุทร ในขณะที่อยู่บนเรือ เวลาที่เขารู้สึกเหงาเขาก็จะไปคุยกับกัปตัน และด้วยความที่เขาเป็นคนรอบรู้ในทุกเรื่อง จึงทำให้กัปตันเลื่อมใสในตัวเขามาก
เย็นวันหนึ่ง ขณะที่คุยกัน ศาสตราจารย์ได้ถามกัปตันว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ประวัติศาสตร์”
“ไม่เคยเรียนครับ”
เย็นวันหนึ่ง ขณะที่คุยกัน ศาสตราจารย์ได้ถามกัปตันว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ประวัติศาสตร์”
“ไม่เคยเรียนครับ”
“น่าเสียดายที่ไม่เคยเรียน เพราะวิชาประวัติศาสตร์นี้ บอกเรื่องราวของชีวิตได้หลายๆอย่าง เขาถือกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์ ถึงหนึ่งในสี่ของชีวิตทีเดียว”
กัปตันฟังแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเขาเชื่อถือในความรู้ของศาสตราจารย์มาก
เย็นวันต่อมา เขาก็คุยกับศาสตราจารย์อีกเช่นเคย ด้วยหวังว่าศาสตราจารย์จะแนะนำความรู้ใหม่ๆให้บ้าง ศาสตราจารย์ก็ถามเขาอีกว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ภูมิศาสตร์”
“ไม่เคยเรียนครับ”
“น่าเสียดายมากน่ะที่ไม่เคยเรียน เพราะวิชาภูมิศาสตร์นี้ ทำให้เรารู้จักโลกได้กว้างขึ้น เขาถือกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ถึงครึ่งหนึ่งของชีวิตทีเดียว”
วันต่อมาเมื่อคุยกัน กัปตันก็ถูกถามอีกเช่นเคยว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ปรัชญา”
“ไม่เคยเรียนครับ แค่ฟังชื่อก็ไม่รู้เรื่องแล้วครับ”
“โอ...น่าเสียดายที่ไม่เคยเรียน เพราะวิชาปรัชญานี้เป็นวิชาชั้นสูง เป็นต้นกำเนิดของทุกๆวิชา เขาถือกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ถึงสามในสี่ของชีวิตทีเดียว”
กัปตันบ่นเสียดายและเสียใจที่มีชีวิตสูญเปล่าไปมากมายขนาดนั้น เขาไม่สบายใจจนนอนไม่หลับ จึงขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือ เฝ้าครุ่นคิดถึงชีวิตที่ผ่านมาด้วยความเศร้า แต่แล้วทันใดนั้นเอง เขากลับพรวดพราดวิ่งลงมาเคาะประตูเรียกศาสตราจารย์
“ศาสตราจารย์ๆ ตื่นหน่อยครับ ท่านศาสตราจารย์”
“เรียกผมทำไม นี่มันดึกมากแล้วน่ะ”
“ผมอยากทราบว่า ท่านเคยเรียนวิชาหนึ่งไหม”
“วิชาอะไร”
“ว่ายน้ำครับ ท่านเคยเรียนไหม”
“ไม่เคยเลย แล้วฉันก็ว่ายน้ำไม่เป็นด้วย”
“แย่เลยครับท่าน ผมไม่ได้เรียนวิชาที่ท่านถามมานับว่าเสียเวลาไปค่อนชีวิต แต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาว่ายน้ำมา ท่านคงต้องเสียทั้งชีวิต”
“ทำไมล่ะ”
“เรือของเรารั่ว และมันกำลังจะจมครับ”
เภทภัยทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิต จึงเป็นดั่งบททดสอบว่า ในบรรดาวิชาความรู้ที่มีให้ศึกษาอย่างมากมายนั้น วิชาใดที่จำเป็นต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง ดังเช่น กัปตันผู้ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าใด แต่วิชาว่ายน้ำที่เขามี กลับเป็นสิ่งที่ช่วยเขาได้ ในยามที่เรืออัปปาง
เมื่อเราทุกคนต่างก็เป็นผู้เดินทางไกลในวัฏสงสาร อันเป็นการเวียนว่ายในทะเลแห่งความทุกข์ เราจะไปถึงฝั่งแห่งความสุขได้นั้น จำเป็นต้องมีวิชาติดตัว ที่เรียกว่า “วิชาของชีวิต”
วิชาของชีวิตจึงเป็นวิชาที่เราต้องใส่ใจขวนขวายเรียนรู้ให้ได้เป็นอันดับแรก เพราะวิชานี้ คือ วิชาเพื่อการดับทุกข์ ไม่ว่าทะเลแห่งความทุกข์ จะเวิ้งว้างน่ากลัวเพียงใด ขอเพียงเรามีวิชาของชีวิตติดตัวไว้ เราย่อมจะปลอดภัยแน่นอน
กัปตันฟังแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเขาเชื่อถือในความรู้ของศาสตราจารย์มาก
เย็นวันต่อมา เขาก็คุยกับศาสตราจารย์อีกเช่นเคย ด้วยหวังว่าศาสตราจารย์จะแนะนำความรู้ใหม่ๆให้บ้าง ศาสตราจารย์ก็ถามเขาอีกว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ภูมิศาสตร์”
“ไม่เคยเรียนครับ”
“น่าเสียดายมากน่ะที่ไม่เคยเรียน เพราะวิชาภูมิศาสตร์นี้ ทำให้เรารู้จักโลกได้กว้างขึ้น เขาถือกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ถึงครึ่งหนึ่งของชีวิตทีเดียว”
วันต่อมาเมื่อคุยกัน กัปตันก็ถูกถามอีกเช่นเคยว่า
“กัปตันคุณเคยเรียนวิชาอย่างหนึ่งไหม”
“วิชาอะไรครับ”
“ปรัชญา”
“ไม่เคยเรียนครับ แค่ฟังชื่อก็ไม่รู้เรื่องแล้วครับ”
“โอ...น่าเสียดายที่ไม่เคยเรียน เพราะวิชาปรัชญานี้เป็นวิชาชั้นสูง เป็นต้นกำเนิดของทุกๆวิชา เขาถือกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ถึงสามในสี่ของชีวิตทีเดียว”
กัปตันบ่นเสียดายและเสียใจที่มีชีวิตสูญเปล่าไปมากมายขนาดนั้น เขาไม่สบายใจจนนอนไม่หลับ จึงขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือ เฝ้าครุ่นคิดถึงชีวิตที่ผ่านมาด้วยความเศร้า แต่แล้วทันใดนั้นเอง เขากลับพรวดพราดวิ่งลงมาเคาะประตูเรียกศาสตราจารย์
“ศาสตราจารย์ๆ ตื่นหน่อยครับ ท่านศาสตราจารย์”
“เรียกผมทำไม นี่มันดึกมากแล้วน่ะ”
“ผมอยากทราบว่า ท่านเคยเรียนวิชาหนึ่งไหม”
“วิชาอะไร”
“ว่ายน้ำครับ ท่านเคยเรียนไหม”
“ไม่เคยเลย แล้วฉันก็ว่ายน้ำไม่เป็นด้วย”
“แย่เลยครับท่าน ผมไม่ได้เรียนวิชาที่ท่านถามมานับว่าเสียเวลาไปค่อนชีวิต แต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาว่ายน้ำมา ท่านคงต้องเสียทั้งชีวิต”
“ทำไมล่ะ”
“เรือของเรารั่ว และมันกำลังจะจมครับ”
เภทภัยทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิต จึงเป็นดั่งบททดสอบว่า ในบรรดาวิชาความรู้ที่มีให้ศึกษาอย่างมากมายนั้น วิชาใดที่จำเป็นต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง ดังเช่น กัปตันผู้ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าใด แต่วิชาว่ายน้ำที่เขามี กลับเป็นสิ่งที่ช่วยเขาได้ ในยามที่เรืออัปปาง
เมื่อเราทุกคนต่างก็เป็นผู้เดินทางไกลในวัฏสงสาร อันเป็นการเวียนว่ายในทะเลแห่งความทุกข์ เราจะไปถึงฝั่งแห่งความสุขได้นั้น จำเป็นต้องมีวิชาติดตัว ที่เรียกว่า “วิชาของชีวิต”
วิชาของชีวิตจึงเป็นวิชาที่เราต้องใส่ใจขวนขวายเรียนรู้ให้ได้เป็นอันดับแรก เพราะวิชานี้ คือ วิชาเพื่อการดับทุกข์ ไม่ว่าทะเลแห่งความทุกข์ จะเวิ้งว้างน่ากลัวเพียงใด ขอเพียงเรามีวิชาของชีวิตติดตัวไว้ เราย่อมจะปลอดภัยแน่นอน