คิดแบบคนอินเดีย


ดช.ปัญญาเป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท
วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000
บาทซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น

พอวันรุ่งขึ้น ชาวนาก็ไปหา
ดช.ปัญญาแล้วบอกว่า
"ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง"

ดช.ปัญญา ก็บอกว่า "ไม่เป็นไร
ถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน"

"โอ เสียใจด้วยจริงๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นหมดไปแล้ว"
ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ

"ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน"

"หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร"
ชาวนาถามด้วยความฉงน

"ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย"

"จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ"

"ได้ซิ คอยดูละกัน"
...

จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ ดช.ปัญญาไป

หนึ่งเดือนผ่านไป......ชาวนาพบกับ
ดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร

"ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท
แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว"

"ฉันได้เงินมา 5000 บาท
ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว
3990 บาท"

"แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ(เพราะแพะตายแล้ว)"
ชาวนาถามด้วยความสงสัย

"ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้
และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน
10 บาทให้คนๆ นั้นไป"

ในเรื่องบอกว่า
ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก......

เรื่องราวแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอินเดียสอนกัน
ที่สำคัญก็คือการแก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ที่เผชิญหน้า
หรือคิดคำตอบโจทย์ที่ยากๆ
ซึ่งคนอินเดียจะเก่งในเรื่องแบบนี้มาก
จนบางทีเรากลัว..ไม่ค่อยกล้าที่จะทำธุรกิจด้วย

ได้มีการถ่ายทอดความรู้แบบนี้ส่วนหนึ่งผ่านทางการ์ตูนพื้นบ้านของอินเดีย
ซึ่งขายในราคาถูกมาก ทำให้เด็กไม่ว่าจะอยู่ในรัฐที่ห่างไกลหรือยากจน
ก็สามารถเรียนรู้วิธีคิดผ่านสื่อเหล่านี้ได้
เปรียบกับของไทยก็น่าจะได้แก่ศรีธนญชัยที่มีปัญญาและไหวพริบ ฉลาดหลักแหลม
แต่ก็ถูกมองไปในลักษณะของคนฉลาดแกมโกง..

เขียนโดย V. Raghunathan
นักวิชาการ ผู้บริหารบริษัทและเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งในอินเดียและในต่างประเทศ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Cast Away จากภาพยนต์สู่เรื่องจริง : การต่อสู้ของมนุษย์เพื่อเอาชีวิตรอดกลางมหาสมุทร

ผมมีอะไรเล่าให้ฟัง กับเงิน 800 บาทกินทั้งเดือน...สำหรับคนที่ท้อแท้หาทางออกกับชีวิตไม่ได้

ฉันชื่อ "โอกาส"